table



1.1   ทดลองสร้างตาราง
ชื่อแท็ก                          table, tr และ td
ตำแหน่งแท็ก                  table อยู่ภายในแท็ก <body>...</body>
                                   
tr อยู่ภายในแท็ก <table>...</table>
                                   
td อยู่ภายในแท็ก <tr>...</tr>
รูปแบบแท็ก
                   <table>
                                                <tr><td>ข้อความ</td><td>ข้อความ</td></tr>
                                                <tr><td>ข้อความ</td><td>ข้อความ</td></tr>
                                    </table>
1.2   การใส่หัวข้อและตีเส้นตาราง
            เราสามารถตกแต่งตารางให้ดูง่ายขึ้น โดยการใส่หัวคอลัมน์หรือหัวแถว เพื่ออธิบายความหมายองข้อมูลภายในคอลัมน์หรือภายในแถว โดยใช้แท็ก <th>…</th> ซึ่งจะมีลักษณะการใช้งานเหมือนแท็ก td แต่ข้อความภายในแท็กจะเป็นตัวหนา เป็นการเน้นข้อความ
ชื่อแท็ก                       th
ตำแหน่งของแท็ก          อยู่ภายในแท็ก <tr>...</tr>
รูปแบบแท็ก                 <tr>
                                              <th>หัวข้อ</th>
                                              <th>หัวข้อ</th>
                                  </tr>
1.3   การกำหนดข้อความกำกับให้กับตาราง
การใส่ข้อความกำกับ จะช่วยให้ทราบได้ว่าตารางนั้นนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องใด
ชื่อแท็ก                       caption
ชื่อแอททริบิวท์             align
ตำแหน่งของแท็ก          อยู่ภายในแท็ก <table>...</table>
รูปแบบแท็ก
                 <caption align = “ตำแหน่ง”>ข้อความกำกับ</caption>
ค่าที่กำหนด                  ตำแหน่งของข้อความกำกับ ได้แก่ top (กลางบน),
                                  bottom (กลางล่าง), left (บนซ้าย), right (บนขวา)
1.4   ความหนาของเส้นตารางและความห่างของช่องเซลล์
ชื่อแอททริบิวท์             border และ cellspacing
ตำแหน่งแอททริบิวท์     อยู่ภายในแท็ก <table…>
รูปแบบแท็ก
                 <table border = “ความหนา” cellspacind= “ความห่าง”>
ค่าที่กำหนด                  ขนาดเป็น pixels เป็น 5, 7, 10
1.5   เว้นระยะระหว่างข้อมูลให้เซลล์กับกรอบเซลล์
               เราสามารถปรับขนาดของช่องตารางให้มีที่ว่างเป็นการเว้นระยะระหว่างข้อมูลกับกรอบช่องเซลล์เพื่อความสวยงาม
               ชื่อแอททริบิวท์                         cellpadding
               ตำแหน่งของแอททริบิวท์           อยู่ภายในแท็กเปิด <table...>
              รูปแบบ                                   <table cellpadding = “เว้นระยะ”>
               ค่าที่กำหนด                              ขนาดเป็น pixels เป็น 5, 7, 10



1.6   ปรับความกว้างและความสูงของตาราง
               การสร้างตารางที่ผ่านมาขนาดความกว้างของตารางนั้นถูกกำหนดโดยขนาดข้อมูลในแต่ละช่อง ทำให้ขนาดตารางที่ได้อาจดูไม่เหมาะสม ซึ่งเราสามารถกำหนดขนาดความกว้างของตารางได้เอง
               ชื่อแอททริบิวท์                         width
               ตำแหน่งของแอททริบิวท์           อยู่ภายในแท็กเปิด <table…>
              รูปแบบ                                   <table width = “ความกว้าง”>
              ค่าที่กำหนด                              ความกว้างของตารางกำหนดเป็น % หรือพิกเซล

              เราสามารถกำหนดความสูงของตารางได้เช่นเดียวกันด้วยรูปแบบดังต่อไปนี้
               ชื่อแอททริบิวท์                         height
               ตำแหน่งของแอททริบิวท์           อยู่ภายในแท็กเปิด <table…>
              รูปแบบ                                   <table height = “ความสูง”>
              ค่าที่กำหนด                              ความสูงของตารางกำหนดเป็น % หรือพิกเซล
            Note : ความสูงนี้จะเป็นความสูงที่เทียบกับหน้าจอบราวเซอร์ ถ้าเราย่อหน้าต่างลงความสูงก็จะถูกปรับไปด้วย และในกรณีที่ข้อมูลในตารางมีมาก ในความสูงที่กำหนไม่พอแสดงข้อมูลทั้งหมด ตารางก็จะขยายสูงขึ้นเอง โดยไม่สนใจว่าเราจะกำหนดความสูงไว้เท่าไร แต่ถ้าข้อมูลมีน้อย พอแสดงในความสูงที่เรากำหนด ตารางก็จะคงความสูงไว้ โดยจะปล่อยเป็นพื้นที่ว่างด้านล่าง
1.7   ปรับขนาดช่องเซลล์
               ปกติช่องเซลล์ 1 ช่อง จะมีขนาด 1 แถว 1 คอลัมน์ แต่ในบางกรณีเราต้องการใช้ช่องเซลล์ขนาดอื่น เช่น 1 แถว 5 คอลัมน์ หรือ 2 แถว 2 คอลัมน์ เป็นต้น
               เมื่อเราต้องการใช้ช่องเซลล์เกิน
1 คอลัมน์ ทำได้ดังนี้
                ชื่อแอททริบิวท์                         colspan
                ตำแหน่งของแอททริบิวท์           อยู่ในแท็กเปิด <td…>
              รูปแบบ                                   colspan = “จำนวนคอลัมน์ที่ต้องการขยาย

             
ค่าที่กำหนด                              จำนวนคอลัมน์ที่เราต้องการขยาย
              ถ้าต้องการให้ช่องเซลล์ขยายออกเกิน 1 แถว ทำได้ดังนี้
               ชื่อแอททริบิวท์                         rowspan
               ตำแหน่งของแอททริบิวท์           อยู่ภายในแท็กเปิด <td…>
              รูปแบบ                                   rowspan = “จำนวนแถวที่ต้องการขยาย
              ค่าที่กำหนด                              จำนวนแถวที่ต้องการขยาย
1.8   การกำหนดสีในช่องเซลล์
การใส่สีในช่องเซลล์ ช่วยให้ตารางดูดีขึ้น มีการแยกสี หรือเน้นความสำคัญของข้อมูล
            ชื่อแอททริบิวท์               bgcolor
            ตำแหน่งของแอททริบิวท์  อยู่ภายในแท็กเปิด <table…>,<th…>,<tr…> หรือ <td…>
            รูปแบบ                          bgcolor
= “สี”
            ค่าที่กำหนด                    สีที่กำหนดจะเป็นชื่อสีพื้นฐานหรือเลขฐาน 16
1.9   ใส่สีให้กรอบของตาราง
            เราสามารถแต่งสีให้กับกรอบของตารางเพื่อทำให้ตารางดูสะดุดตามากขึ้น โดยแอททริบิวต์ bordercolor ใส่ลงไปในแท็ก <table>
             ชื่อแอททริบิวท์               bordercolor
             ตำแหน่งของแอททริบิวท์  อยู่ภายในแท็กเปิด <table…>
            รูปแบบ                          bordercolor
= “ชื่อสีที่เราจะใส่ให้กับกรอบของตาราง”
            ค่าที่กำหนด                    สีที่กำหนดจะเป็นชื่อสีพื้นฐานหรือเลขฐาน 16

1.10   การใส่รูปภาพให้กับพื้นหลังของตาราง
            นอกจากเราจะสามารถใส่สีให้กับพื้นหลังแล้ว เรายังสามารถใส่รูปให้กับพื้นหลังของตารางได้อีก โดยใช้แอตทริบิวต์            background ในแท็ก <table>
ชื่อแอตทริบิวต์                            background
ตำแหน่งของแอตทริบิวต์              อยู่ภายในแท็กเปิด <table...></table>
รูปแบบแท็ก
                   
            background="ชื่อไฟล์รูปภาพที่นำมาใช้เป็น
                                                พื้นหลังตาราง"

ค่าที่กำหนด                                
ชื่อไฟล์รูปภาพที่จะนำมาใส่เพื่อเป็นพื้นหลังของตาราง
1.11   การกำหนดการแสดงเส้นตาราง
            เป็นการกำหนดให้แสดงหรือไม่แสดงเส้นของตารางบางด้าน เพื่อความเหมาะสมสำหรับการแสดงข้อมูลบางประเภท เช่น ไม่แสดงเส้นเฉพาะในแนวคอมลัมน์
ชื่อแอตทริบิวต์                            frame และ rules
ตำแหน่งของแอตทริบิวต์              อยู่ภายในแท็กเปิด <table...></table>
รูปแบบแท็ก
                   
            <table frame="ตัวเลือก" rules="ตัวเลือก">
ค่าที่กำหนด                                
กำหนดให้แสดงหรือไม่แสดงเส้นขอบของตาราง
ตัวเลือกของแอตทริบิวต์ frame ประกอบด้วย
คำสั่ง
รายละเอียด
above
แสดงเฉพาะเส้นด้านบนของช่องเซลล์
below
แสดงเฉพาะเส้นด้านล่างของช่องเซลล์
border
แสดงเส้นทุกด้าน
box
แสดงเส้นทุกด้าน
hsides
แสดงเส้นแนวนอนทุกเส้น
lhs
แสดงเฉพาะเส้นด้านซ้ายของช่องเซลล์
rhs
แสดงเฉพาะเส้นด้านขวาของช่องเซลล์
void
ไม่แสดงเส้นกรอบ
vsides
แสดงเส้นแนวตั้งทุกเส้น
ตัวเลือกของแอตทริบิวต์ rules ประกอบด้วย
คำสั่ง
รายละเอียด
all
แสดงเส้นแบ่งช่องเซลล์ทุกเส้น
cols
แสดงเส้นแบ่งช่องเซลล์เฉพาะเส้นแนวคอลัมน์ (แนวตั้ง)
groups
แสดงเฉพาะเส้นแบ่งกลุ่มเซลล์ที่เกิดจากแท็ก thead, tbody, tfoot, หรือ colgroup
(สำหรับแท็กทั้งสี่จะกล่าวในหัวข้อลำดับถัดไป)
none
ไม่แสดงเส้นแบ่งช่องเซลล์
rows
แสดงเส้นแบ่งช่องเซลล์เฉพาะเส้นแนวแถว (แนวนอน)


1.12   การจัดตำแหน่งข้อมูลในตาราง
เราสามารถจัดข้อมูลที่แสดงในช่องตารางให้ชิดขวา ชิดซ้าย หรืออยู่กึ่งกลางของช่องตารางได้
ชื่อแอตทริบิวต์                            align
ตำแหน่งของแอตทริบิวต์              อยู่ภายในแท็กเปิด <td...></td>
รูปแบบแท็ก
                   
            <td align="ตำแหน่งของข้อมูล">
ค่าที่กำหนด                                
ตำแหน่งข้อมูลได้แก่ center (กลาง), justify (เต็มช่อง),
                                                left (ซ้าย) และ right (ขวา)
เราสามารถจัดข้อมูลที่แสดงในช่องตารางให้ชิดบน ชิดล่าง หรืออยู่กึ่งกลางของช่องตารางได้
ชื่อแอตทริบิวต์                            valign
ตำแหน่งของแอตทริบิวต์              อยู่ภายในแท็กเปิด <td...></td>
รูปแบบแท็ก
                   
            <td valign="ตำแหน่งของข้อมูล">
ค่าที่กำหนด                                
ตำแหน่งข้อมูลได้แก่ baseline (ตามเส้นฐาน),
                                                bottom (ชิดล่าง), middle (กลาง)และ top (ชิดบน)

1.13   การใส่รูปในตาราง
วิธีการสำหรับนำรูปภาพมาใส่ในช่องตาราง นั้นคล้ายการนำข้อความมาใส่ในตารางทั่วไปเพียงแต่เราต้องใช้แท็ก <img src…> เพื่อระบุรูปที่ต้องการนำมาแสดง
  ชื่อแท็ก                                   img
   ชื่อแอททริบิวท์                         
src
   ตำแหน่งของแท็ก                      
อยู่ภายในแท็กเปิด <td>...</td>
  รูปแบบ                                   
<img src="ไฟล์รูปภาพ" />
   ค่าที่กำหนด                              ขนาดเป็น pixels เป็น 5, 7, 10







1.14   การกำหนดความกว้างของคอลัมน์ <colgroup>
               ถ้าเราต้องการกำหนดความกว้างของคอลัมน์ในตาราง สามารถกำหนดได้โดยใช้แท็ก colgroup (Table Column Group)
              ชื่อแท็ก                                   colgroup
               ชื่อแอททริบิวท์                         
span และ width
               ตำแหน่งของแอททริบิวท์           
อยู่ภายในแท็ก <table>...</table>
              รูปแบบ                                   
<colgroup span="จำนวน" 
                                                            width="ความกว้าง">...</colgroup>

              ค่าที่กำหนด                              
span จำนวนคอลัมน์ที่ใช้กำหนดความกว้าง
                                                            width ความกว้างของคอลัมน์มีหน่วยเป็น % หรือพิกเซล

1.15   การกำหนดความกว้างแต่ละคอลัมน์
ชื่อแท็ก                                      col
ชื่อแอททริบิวท์                           span และ width
ตำแหน่งของแอททริบิวท์              อยู่ภายในแท็ก <colgroup>...</colgroup>
รูปแบบ                                      <col span="จำนวน" width="ความกว้าง">
ค่าที่กำหนด                                
span จำนวนคอลัมน์ที่ใช้กำหนดความกว้าง 
                                                width ความกว้างของคอลัมน์มีหน่วยเป็น % หรือพิกเซล

1.16   การแบ่งส่วนตาราง
โดยปกติข้อมูลที่อยู่ในตารางจะเป็นส่วนของข้อมูลเนื้อหาส่วนใหญ่ และก็จะมีส่วนของหัวคอลัมน์เพื่อที่จะแสดงความหมายของข้อมูลนั้น ซึ่งเราจะใช้แท็ก th ที่กล่าวไปแล้ว
            แต่ในบางกรณีที่เราต้องการแบ่งส่วนของตาราง เราก็สามารถทำได้ 
ส่วนคือ
  • แท็ก thead (Table Header) ส่วนของหัวตาราง
  • แท็ก tbody (Table Body) ส่วนของข้อมูลในตาราง
  • แท็ก tfoot (Table Footer) ส่วนของสรุปรวมข้อมูลในตาราง
โดยทั้งสามส่วนเราไม่ต้องใส่เรียงกันตามลำดับที่ควรจะเป็นตารางก็ได้ เช่น เราอาจจะวางแท็ก tfoot มาก่อนแท็ก tbody ได้ แต่ตอนที่เราแสดงผลในบราวเซอร์ บราวเซอร์จะจัดแท็ก tfoot ไว้ล่างสุดให้เราเอง ดูตามตัวอย่าง
ลักษณะของแท็กทั้ง ประเภทจะเป็นดังนี้
            ชื่อแท็ก                          thead, tbody และ tfoot
            ตำแหน่งของแท็ก            
อยู่ภายในแท็ก <table>...</table>
            รูปแบบ                          
<thead><tr><td>...</td></tr></thead>
                                                <tbody><tr><td>...</td></tr></tbody>
                                                <tfoot><tr><td>...</td></tr></tfoot>

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

Dreamweaver cs6

การสร้างเว็บไซต์โดยใช้ HTML